วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

เต่าทอง

ชีวิตพอเพียงของแมลงเต่าทอง (Lady Bird)
แมลงเต่าทอง เป็นแมลงที่อยู่ใน วงศ์ Coccinellidae






แมลงเต่าทองมีหลายชนิด จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ไฟลัมอาร์โธรพอด

ไม่ได้มีแต่สีแดงเท่านั้นสีอื่นก็มี

เช่น สีส้ม สีเหลือง สีดำ (แต่ถ้าเป็นสีทอง สีเขียวทอง ปีกใส ๆ
ลักษณะคล้ายแมลงเต่าทอง ก็เป็นแมลงเต่าทอง

ในบางพวกที่ไม่ใช่ตัวห้ำแมลง แต่กลับเป็นแมลงศัตรูพืช)




แมลงเต่าทองจำนวนมากเป็น “ตัวห้ำแมลง”
แมลงเต่าทองเป็นตัวห้ำแมลง
ตั้งแต่ระยะตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัย เรียกว่ามันจะกินเพลี้ยอ่อน
ไร แมลงหวี่ขาว แมลงขนาดเล็ก ไข่แมลง ฯลฯ
ตลอดชีวิตตั้งแต่ออกจากไข่เลยทีเดียว
แมลงเต่าทองมีการสืบพันธุ์เพิ่มปริมาณรวดเร็ว
จากการวางไข่ ครั้งละไม่น้อยกว่า 15 ฟอง








ประโยชน์

ส่งผลดีต่อชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน
ไม่ให้เกิดความเสียหายต่อพืชพรรณ
ที่ปลูกไว้ ทั้งยังมีประโยชน์ที่ช่วยกำจัดศัตรูพืชที่ดีเยี่ยม
เพราะมันจะกินเพลี้ยอ่อน ไร แมลงหวี่ขาว
แมลงขนาดเล็ก ไข่แมลง ฯลฯ














ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

แต่แมลงสำคัญอย่างแมลงเต่าทอง
ก็ถูกทำลายโดยมนุษย์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์เอง
ก็ถูกทำลายให้เหลือลดน้อยลงจากสารฆ่าแมลงของเกษตรกรเอง
ปัจจุบันจะเป็นว่าแมลงตัวห้ำเหลือน้อยลง
จนหาได้ยากมาก จนไม่เพียงพอจะกำจัดแมลงศัตรูพืช






อนาคตของพวกเธอสดใสแล้ว

ปัจจุบันได้มีการช่วยเพิ่มปริมาณแมลงตัวห้ำ
ด้วยการผลิตแมลงเหล่านี้แล้วนำไปปล่อยในธรรมชาติ
เรียกวิธีการนี้ว่า การป้องกันกำจัดแมลงแบบชีวอินทรี
แบบธรรมชาติดูแลกันเอง ถือเป็นวิธีช่วยเหลือเกษตรกร
และผู้ปลูกต้นไม้ที่ดีเยี่ยมเพราะไม่ต้องใช้สารเคมีเพื่อกำจัดแมลง
ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกร
ต่อผู้บริโภคและช่วยรักษาสภาพแวดล้อมให้บริสุทธิ์สะอาด
ทั้งยังช่วยเร่งการเติบโตให้กับแมลงตัวห้ำที่เป็นประโยชน์ต่อ
พืชพรรณไม้ต่าง ๆ ให้พ้นจากแมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี



เธอช่างเป็นอะไรที่วิเศษเสียจริง

แมลงตัวห้ำที่ได้กล่าวไว้นั้น เป็นลักษณะของแมลง
ที่กินแมลงเป็นศัตรูพืชเป็นอาหาร โดยแมลงตัวห้ำ
ที่ว่าเป็นลักษณะของแมลงเต่าทองรวมอยู่ด้วย คือ
จะมีขนาดตัวใหญ่แข็งแรงกว่าเหยื่อ กินเหยื่อทั้งตัว
กินคราวละหลายตัว กินเหยื่อได้ตั้งแต่ออกจากไข่
เป็นตัวอ่อนจนถึงตัวเต็มวัยเลยทีเดียว
และเมื่อโตเต็มวัยจะใช้วิธีบินหาเหยื่อเรื่อยไป
ไม่ได้อาศัยอยู่กับเหยื่อเหมือนกันแมลงตัวเบียน
โดยแมลงเต่าทองจะบินไปเรื่อย ๆ จนพบเหยื่อ
ช่างเป็นแมลงที่พอเพียงเสียจริง ซึ่งเหยื่อของมัน
คือ เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของต้นไม้ที่มียอดอ่อน
เพลี้ยอ่อนนั้นถือเป็นศัตรูตัวร้ายที่ฉลาดมาก
ซึ่งมันจะปล่อยน้ำตาลออกมาที่ก้นให้มดมากินน้ำตาล
และมดก็จะคอยช่วยดูแลพวกมันจากแมลงอื่น ๆ
ที่จะมารบกวนการเจาะดูดน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนของพืชที่เราปลูก
ทั้งยังเป็นแมลงที่ตายยากมาก ถ้าไม่เจอแมลงเต่าทอง
มาช่วยกำจัดก็จะแพร่กระจายระบาดไปทั่วอย่างรวดเร็ว


แมลงเต่าทองมีหลากหลายสีสันลวดลายและจุดต่าง ๆ

แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะสีดำ สีแดง สีเหลือง สีส้ม

สีเขียวก็ยังมี




มาดูแมลงกับดอกไม้แสนสวย

และน่ารักกันดีกว่า













แมลงหวี่

แมลงหวี่ ในเมืองไทยมี 2 ชนิด คือ
แมลงหวี่ที่มีชื่อสามัญว่า pomace flies เป็นแมลงตัวเล็กๆ ยาวประมาณ 3-4 มม. มักจะมีสีเหลือง ตาสีแดง มักพบตามพืชผักและผลไม้เน่าเปื่อยต่างๆ ผลไม้ที่เก็บไว้ในบ้านเราก็อาจจะถูกแมงตัวนี้รบกวนเสมอ
อีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อท้องถิ่นหลายชื่อ คือ แมลงหวี่ตา แมลงตาหรือแมลงโลม มีชื่อสามัญว่า Eye fly หรือ Eye gnat หรือ Hippelates fly เป็นแมลงตัวเล็กๆ ขนาด 1.5-2.5 มม. มีความว่องไวมักจะบินอยู่บริเวณตาของคนและสัตว์ หากินตามน้ำหล่อเลี้ยงตาเมือก หรือตามรูเหงื่อน้ำเหลืองและน้ำจากบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นแมลงที่มีความสำคัญทางการแพทย์ คือ
1. เป็นพาหะนำโรคตาแดง
2. อาจทำให้เกิดโรคกับวัว ควาย ได้ในต่างประเทศ ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานถึงความสำคัญของแมลงตัวนี้
3. เป็นตัวนำโรคแผลปากหมู

แมลงทับ

แมลงทับ

[dragonfly]

       ชื่อสามัญ    Metalic Wood boring Beetle
       อันดับ        COELOPTERA  
        วงศ์    Buprestidae
  
      แมลงปีกแข็งที่มีปีกสีเขียวแวววาว   หนวดสั้นมีรูปร่างหยักคล้ายฟันเลื่อย  มีวงจรชีวิตประมาณหนึ่งปี
   ตัวเมียวางไข่ตาม รอยแตกของไม้ ตัวหนอนเจาะเปลือกไม้เข้าไปกัดกินเนื้อเยื่อของต้นไม้ แมลงทับจัด
  เป็นแมลงศัตรูของพืชด้วย   เนื่องจากตัวอ่อนชอบเจาะไชเข้าไปใต้เปลือกลำต้น    ทำให้พืชที่ แมลงทับ
  อาศัย เช่น มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ มะขามเทศ ตายได้
         แต่สามารถป้องกันกำจัดได้ โดยวิธีดังต่อไปนี้
                 1.ดูแลตกแต่งต้นโดยการริดกิ่งแห้งหรือทำลายต้นไม้ที่ตายแล้วด้วยการเผา
                 2.ทำการเก็บไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยที่พบมาทำลาย
                 3.กิ่งที่ถูกทำลายคารตัดทิ้ง แล้วทำลายตัวหนอนตัวดักแด้ที่พบ
                 4.โคนต้นและรากที่มีรอยถูกทำลายควรจะรดให้ชุ่มโดยการใช้น้ำยา BHC ความเข้มข้น 0.1% 
                 5.ขุดดินรอบโคนต้นลึกประมาณ   1   ฟุตแล้วทำการโรยยาผง  BHC 10 % รอบโคนต้นใน
                    อัตราส่วน 300-500 กรัมต่อต้น 
                  6.ใช้เข็มฉีดยา ใส่สารไพรีโคน-อี (Pyrecone E) หรือ Pyrethrin, piperonyl butoxide 
                     ความเข้มข้นประมาณ 1 %  หรือใช้  ยาคาบาริล (sevin)แทนก็ได้ นอกจากนั้นยังสามารถ
                     ใช้ ยาเม็ดฟอเรต  (  Thimet  )  หยอดเข้าไปในรูที่เจาะได้เช่นเดียวกัน    แล้วอุดรูแมลง
                     ด้วยดินเหนียว 
       


วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

ผึ้ง

ไฟล์:Bombus hypnorum male - side (aka).jpgผึ้ง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูง โดยส่วนใหญ่จะออกหาอาหารเป็นน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการผสมพันธุ์ ผึ้งทำงานกันเป็นระบบ มีผึ้งนางพญาเป็นหัวหน้าใหญ่
มนุษย์รู้จักผึ้งมานาน 7000 ปีแล้ว กษัตริย์ Menes ของอียิปต์โปรดให้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งอาณาจักรของพระองค์
ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
  1. ส่วนหัว ประกอบด้วยอวัยวะรับความรู้สึกต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ
    1. ตารวม มีอยู่ 2 ตา ประกอบด้วยดวงตาเล็ก ๆ เป็นรูปหกเหลี่ยมหลายพันตา รวมกัน เชื่อมติดต่อกันเป็นแผง ทำให้ผึ้งสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้รอบทิศ
    2. ตาเดี่ยว อยู่ด้านบนส่วนหัว ระหว่างตารวมสองข้าง เป็นจุดเล็ก ๆ 3 จุด อยู่ ห่างกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งตาเดี่ยวนี้จะเป็นส่วนที่รับรู้ในเรื่องของความเข้มของแสง ทำให้ผึ้งสามารถแยกสีต่าง ๆ ของสิ่งของที่เห็นได้ ฟริช ดาร์ล ฟอน ได้ทำการศึกษาและพบว่าผึ้งสามารถเห็นสีได้ 4 สี คือ สีม่วง สีฟ้า สีฟ้าปนเขียว และสีเหลือง ส่วนช่วงแสงที่มากกว่า 700 มิลลิไมครอน ผึ้งจะมองเห็นเป็นสีดำ
    3. หนวด ประกอบข้อต่อและปล้องหนวดขนาดเท่า ๆ กันจำนวน 10 ปล้อง ประกอบเป็นเส้นหนวด ซึ่งจะทำหน้าที่รับความรู้สึกที่ไวมาก
  2. ส่วนอก จะกอบด้วยปล้อง 4 ปล้อง ส่วนด้านล่างของอกปล้องแรกมีขาคู่หน้า อมปล้องกลางมีขาคู่กลางและด้านบนปล้องมีปีกคู่หน้าซึ่งมีขนาดใหญ่หนึ่งคู่ ส่วนล่างอกปล้องที่ 3 มีขาคู่ที่สามซึ่งขาหลังของผึ้งงานนี้จะมีตระกร้อเก็บละอองเกสรดอกไม้ และด้านบนจะมีปีกคู่หลังอยู่หนึ่งคู่ที่เล็กกว่าปีกหน้า
  3. ส่วนท้อง ส่วนท้องของผึ้งงานและผึ้งนางพญาเราจะเห็นภายนอกเพียง 6 ปล้อง ส่วนปล้องที่ 8-10 จะหุบเข้าไปแทรกตัวรวมกันอยู่ในปล้องที่ 7 ส่วนผึ้งตัวผู้จะเห็น 7 ปล้อง

แมลงวัน

          แมลงวัน เป็น แมลง ใน อันดับ Diptera (di = สอง, และ ptera = ปีก) มีบน อกปล้องทีสอง และ ตุ่มปีกหนึ่งคู่ ซึ่งลดรูปจากปีกหลัง บนอกปล้องที่สาม แมลงวันบางชนิดไม่มีปีก โดยเฉพาะใน superfamily Hippoboscoidea
อันดับ Diptera เป็นอันดับที่มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย ประมาณ 240,000 ชนิด ของ ยุง, บั่ว, ริ้น และแมลงวันอื่นๆ แต่มีเพียงครึ่ง(ประมาณ 122,000 ชนิด)ที่ได้รับการจำแนกแล้ว เป็นอันดับหลักๆที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศและมนุษย์ (ทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ) ยุงในวงศ์ Culicidaeมีความสำคัญมากโดยเป็นพาหะนำโรค มาลาเรีย, ไข้เลือดออก, ไวรัส West Nile, ไข้เหลือง , encephalitis
แมลงวัน เป็นแมลงที่อาศัยอยู่กับชุมชนมนุษย์ชนิดหนึ่ง ส่วมมากคนจะรู้จักบางชนิด เช่น แมลงวันบ้าน และแมลงวันหัวเขียว มักจะกินอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์และเศษอาหาร ตามกองขยะ และชอบหากินเวลากลางวัน ไม่ชอบแสงแดดจัด รัศมีการหากินอยู่ในวงประมาณ 3 กิโลเมตร
ชีววิทยา
แมลงวันกินอาหารที่เป็นของเหลวได้เท่านั้น ส่วนปากของแมลงวันมีการเปลี่ยนรูปอย่างหลากหลายตามอาหารของพวกมัน เช่น ปากเจาะดูดของยุง และปากแบบซับดูดของแมลงวันบ้าน
Portrait of a housefly (Musca domestica)
An image of a house fly eye surface by using scanning electron microscope at 450× magnification
การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต แมลงวันออกลูกเป็นไข่ และฟักเป็นหนอนแมลงวัน และระยะดักแด้ จนกลายเป็นตัวเต็มวัย วงจรชีวิตของแมลงวันตั้งแต่ไข่จนเป็นตัวเต็มวัยกินเวลาประมาณ 8-10 วัน
เมื่อแมลงวันผสมพันธุ์กัน ตัวผู้จะเริ่มขึ้นขี่ตัวเมีย หันหน้าไปทางเดียวกัน แต่จะหมุนหันหน้าไปทางตรงกันข้ามในเวลาต่อมา แมลงวันมีความสามารถในการสืบพันธุ์มากกว่าแมลงอื่นๆ และใช้เวลาสั้นกว่าด้วย จึงเป็นสาเหตุให้แมลงวันมีประชากรจำนวนมาก
ตัวเมียจะวางไข่ใกล้ๆแหล่งอาหารเท่าที่เป็นไปได้ การเจริญเติบโตเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตัวหนอนจะกินอาหารมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ในระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่เจริญเติบโตไปเป็นตัวเต็มวัย ในบางครั้งไข่จะฟักทันทีหลังจากถูกวางไข่ แมลงวันบางชนิดตัวหนอนฟักภายในตัวแม่ ovoviviparous
ตัวหนอนแมลงวัน หรือเรียกว่า maggot ไม่มีขาจริง ระหว่างอกและท้องมีการแบ่งส่วนพื้นที่เพียงเล็กน้อย หลายชนิดแม้แต่หัวก็ไม่สามารถแบ่งส่วนพื้นที่ได้ชัดจากส่วนอื่น บางชนิดมีขาเทียมเล็กๆที่ปล้องตัว ตาและหนวดลดรูป หรือไม่มี และท้องไม่มีรยางค์ เช่น cerci. ลักษณะดังกล่าวเป็นการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่มีอาหารเป็นจำนวนมาก เช่นในอินทรีย์วัตถุเน่าหรือเป็นปรสิตภายใน
ดักแด้มีหลายรูปแบบ บางครั้งเข้าดักแด้ในปลอกไหม หลักจากออกจากดักแด้ ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 2-3 วัน หน้าที่หลักเพื่อสืบพันธุ์และหาแหล่งอาหารใหม่การจำแนกหมวดหมู่
 
Fly cleaning.ogv
Cleaning
อับดับย่อย Nematocera มีลำตัวและหนวดยาวมีขน เช่น ยุง แมลงวันแมงมุม อันดับย่อยBrachycera มีลำตัวกลมหนวดสั้น การจำแนกหมวดหมู่ในปัจจุบัน อับดับย่อย Nematocera ถูกแยกออกเป็นสองอับดับย่อย คืออับดับย่อย Archidipteraและ อับดับย่อย Eudiptera แต่ยังไม่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในนักกีฏวิทยาด้านแมลงวัน
  1. อันดับย่อย Nematocera (77 วงศ์, สูญพันธุ์แล้ว 35 วงศ์) – มีหนวดยาว อกปล้องแรก เห็นเด่นชัดแยกจาก อกปล้องที่ 2 ตัวหนอนมีทั้งเห็นหัวได้ชัดและหัวลดรูป มักอาศัยในน้ำ
  2. อับดับย่อย Brachycera (141 วงศ์, สูญพันธุ์แล้ว 8 วงศ์) – มีหนวดสั้น ดักแด้ อยู่ในปลอกดักแด้ซึ่งสร้างจากผิวหนังของตัวหนอนระยะสุดท้าย ตัวเต็มวัยแข็งแรง ตัวหนา ตัวหนอนส่วนปากลดรูป
    1. Infraorders Tabanomorpha and Asilomorpha – หนวดสั้นแต่โครงสร้างต่างจาก Infraorders Muscomorpha
    2. Infraorder Muscomorpha – มีหนวด 3 ปล้อง อริสเตต (มีเส้นขนที่ปล้องที่ 3)หนวด และ ตัวหนอนมี 3 ระยะ หัวลดรูป (maggots)
Infraorder Muscomorpha ถูกแบ่งออกเป็น Acalyptratae และ Calyptratae โดยแบ่งตามการปรากฎของcalypter (ส่วนปีกที่ห้อยออกมาขยายมาจากตุ่มปีก)

โทษ

แมลงวันจัดเป็นสัตว์พาหะนำโรค เนื่องจากการ ตอมตามสิ่งสกปรกทำให้มีเชื้อโรคติดตามขาและมาติดต่อสู่มนุษย์

ประโยชน์

แมลงวันมีประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ในบางท้องที่พบว่าแมลงวันสามารถช่วยผสมเกสรดอกไม้ แพทย์บางแห่งใช้หนอนแมลงวันช่วยในการรักษาแผลเน่าเปื่อยในคน โดยให้หนอนแมลงวันขนาดเล็กกัดกินเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ทำให้แผลหายเร็วขึ้น การพบตัวอ่อนของแมลงวันในศพสามารถช่วยในการชันสูตรศพ ซึ่งช่วยประมาณระยะเวลาตาย หรือการหาสาเหตุของการตายในบางกรณีได้

แมลงสาบ

           แมลงสาบ คือแมลงชนิดหนึ่ง โดยชื่อภาษาอังกฤษนั้นมีที่มาจากภาษาละติน ส่วนชื่อไทยนั้นคำว่าสาบ หมายถึง กลิ่นเหม็นสาบ เหม็นอับนั่นเอง แมลงสาบนั้น โดยทั่วไปที่รู้จักกันดีจะเป็นสายพันธุ์ Periplaneta americana ซึ่งสายพันธุ์นี้มีลำตัวยาวประมาณ 3 เซนติเมตร แมลงสาบอยู่ในวงศ์ Blattidae ส่วนแมลงสาบไทยหรือแมลงสาบในสายพันธุ์เอเชียจะอยู่ในวงศ์ Blattella asahinai ซึ่งมีความยาวลำตัวประมาณ 2 เซนติเมตรขึ้นไปความเป็นมาและวิวัฒนาการของแมลงสาบ
           วิวัฒนาการของแมลงสาบ จากการศึกษาซากฟอสซิลของแมลงสาบ บ่งชี้ได้ว่า แมลงสาบได้ถือกำเนิดมาบนโลกนี้ยาวนานกว่ามนุษย์หลายเท่า เพราะมันได้เกิดมาตั้งแต่ 2012 แมลงสาบครองเมือง โดยชาวมนุษย์ดาวดาแม๊กซ์(Darmax Star) ได้ส่งมันมาเป็นสายลับเพื่อยึดครองโลก (Carboniferous) 1 นาที มาแล้ว ความแตกต่างของแมลงสาบโบราณกับแมลงสาบในปัจจุบัน คือช่องออกไข่ที่ปลายช่องท้องของมัน และมีการค้นพบฟอสซิลแมลงสาบที่เป็นยุคปัจจุบันคือมีรังไข่เหมือนกับปัจจุบันในยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์จากโลกไปแล้ว หรือที่เรียกว่ายุค Mesozoic แมลงสาบสามารถปรับตัวได้กับทุกสภาพแวดล้อม เนื่องจากการที่แมลงสาบกินทุกอย่างเป็นอาหาร บางสายพันธุ์สามารถกินไม้ได้ด้วย แมลงสาบจะปรากฏตัวให้เห็นอยู่ในประเทศที่เป็นเขตเมืองร้อน แมลงสาบในประเทศไทยจะอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน แหล่งของเสีย ขยะแมลงสาบที่อาศัยอยู่ตามฟาร์ม เช่น โรงผสมอาหารสัตว์ ปัจจุบันมีวิธีกำจัดแมลงสาบโดยชีววิธี ด้วยแมลงที่เป็นศัตรู เพื่อลดการใช้สารเคมีกำจัดแมลง
แมลงสาบที่พบในประเทศไทย ที่สำคัญๆ ได้แก่
American cockroach2.jpg
1. แมลงสาบอเมริกัน (American cockroach) มีแหล่งกำเนิดในแอฟริกา เป็นแมลงสาบที่มีลำตัวขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 30 - 40 ม.ม. สีน้ำตาลแดง ปีกยาวทั้งตัวผู้และตัวเมีย บินเก่ง ชอบออกหากินในเวลากลางคืน กลางวันจะนอนพัก หรือหลบซ่อนตัวตามซอกมุม ใต้ตู้ ชั้นเก็บของ ในที่มืด อับ จะพบมากตามโกดังเก็บสินค้า หรือบ้านเรือนทั่วไป โตเต็มวัยเมื่อ 7 วัน อายุ 4 - 7 วันเริ่มผสมพันธุ์ วางไข่ครั้งละ 16 - 28 ฟอง ( 1 Ootheca ) ตัวเมีย 1 ตัวสามารถวางไข่ได้ 22– 40 Ootheca ฟักภายใน 30 - 46 วัน มีอายุประมาณ 212 - 294 วัน ชอบอากาศอบอุ่นและชื้น
Australian cockroach.jpg
2. แมลงสาบออสเตรเลีย (Australia cockroach) มีแหล่งกำเนิดในแอฟริกา แต่จะพบมากในเขตอบอุ่นและเขตร้อนรวมทั้งประเทศไทย มีขนาดใหญ่ ลำตัวยาวประมาณ 27 – 33 ม.ม. แต่เล็กกว่า อเมริกาเล็กน้อย สีเข้มกว่า มีแถบสีอ่อนอยู่ด้านข้างของปีกคู่แรก มีแถบสีเหลืองที่ทรวงอกท่อนแรก บินได้เก่ง Pronotum จะมีสีดำเป็นกลุ่มเห็นชัด มีการเจริญเติบโตแบบลอกคราบ มีอายุยืนประมาณ 170 – 304 วัน พบได้เช่นเดียวกับแมลงสาบอเมริกันแต่จำนวนน้อยกว่า
Oriental cockroach.jpg
3. แมลงสาบสามัญ (Common cockroach , Oriental Cockroach) เป็นแมลงสาบตัวขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 22– 27 ม.ม. ตัวสีน้ำตาลเข้มหรือดำ และมีลายสีเหลืองหรือขาวเด่นชัดด้านบนทรวงอกทั้ง 3 ท่อนและขอบด้านนอกของส่วนท้อง ตัวเมียไม่มีปีก ส่วนตัวผู้จะมีปีกสั้นๆ เพียง 1/4 ของส่วนท้อง แต่บินไม่ได้ แมลงสาบชนิดนี้มักอยู่กันเป็นกลุ่มๆ ในที่มืด ตามซอกที่เก็บของ กองหนังสือเก่าๆ เป็นต้น
German cockroach.jpg
4. แมลงสาบเยอรมัน (German cockroach, Blatella germanica) มีลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ยาว ขนาดประมาณครึ่งนิ้ว ปีกยาวทั้งสองเพศ บินเก่ง ที่ด้านหลังของทรวงอกท่อนแรก ( Pronotum ) มีแถบสีดำสองแถบ เห็นชัดเจน มีอายุประมาณ 100 วัน ชอบอากาศอบอุ่น ตัวเต็มวัย 7– 10 วันจะผสมพันธุ์ ตัวเมียที่มีไข่จะลากเกราะหุ้มไข่ติดกับท้องตลอดเวลาจนกว่าไข่จะสุก ประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ แมลงสาบชนิดนี้จะพบบ้างประปรายตามบ้านเรือน แต่ในเรือใหญ่ๆ เช่นเรือรบ เรือสินค้า จะประสบปัญหาจากการรบกวนของแมลงพวกนี้มาก แพร่พันธุ์ได้เร็วมาก ปัจจุบันพบว่าแมลงพวกนี้ต้านยากำจัดแมลงพวก Hydrocarbon series เช่น DDT. Dieldrin
Brown Banded cockroach.jpg
5. แมลงสาบลายน้ำตาล (Brown Banded cockroach) มีตัวขนาดเท่ากับแมลงสาบเยอรมัน สีน้ำตาลอ่อน ลักษณะที่สังเกตได้ง่ายคือแถบสีน้ำตาลพาดผ่านเป็นสองแถบที่ปีก แมลงสาบชนิดนี้จะอยู่เป็นกลุ่มๆ ในกล่องหรือปีบ ซอกที่มืดทึบ แต่พบน้อยมาก หากินไม่ไกลจากที่อยู่อาศัย
Surinam cockroach.jpg
6. แมลงสาบสีดำ หรือแมลงแกลบ (Surinum cockroach) ตัวมีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ขนาดยาว 18– 24 ม.ม. มักพบอยู่ตามดินไต้กองขยะ กองใบไหม้ เวลากลางคืนอาจบินเข้ามาตามแสงไฟในบ้านบ้าง

เพศของแมลงสาบ

ความแตกต่างระหว่างแมลงสาบตัวผู้กับตัวเมียสังเกตได้จากปลายท้องของตัวผู้จะมีระยางค์ 2 คู่ที่ใช้รับความรู้สึกและใช้ผสมพันธุ์ ส่วนตัวเมียจะมีรยางค์ที่เป็นแผ่นแบนๆ ใช้สำหรับวางไข่ตามมุมห้องหรือซอกเล็กๆ การวางไข่ของตัวเมียนั้น จะมีการปล่อยน้ำที่มีความเหนียว สีขาวขุ่นออกมา ทำหน้าที่เพื่อให้ไข่นั้นติดนานไป ไข่เมื่อโตเต็มที่จะมีสีเหมือนเม็ดมะขามแต่ขนาดเล็กกว่า

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แมลง

        ผีเสื้อ เป็นแมลงทุกชนิดในอันดับเลพิดอปเทรา (Lepidoptera) มีวงชีวิตเริ่มแรกตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐานเข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตาผู้คน ในทางกีฏวิทยาการจัดจำแนกแมลงกลุ่มนี้จะใช้เส้นปีกในการจัดจำแนก
ต้นกำเนิดและการกระจายพันธุ์
วิวัฒนาการของผีเสื้อ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าผีเสื้ออาจมีต้นกำเนิดแต่ยุคครีเทเชียส (Cretaceous Period) ซึ่งยุติเมื่อกว่าหกสิบห้าล้านปีก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ในตระกูลผีเสื้อมีน้อยมาก จึงทำให้การคะเนเกี่ยวกับต้นกำเนิดผีเสื้อเป็นไปได้ไม่สะดวกนัก โดยซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ดังกล่าวที่มีอายุมากที่สุดคือซากนิรนามของสัตว์สคิปเพอร์ (Skipper, Thymelicus lineola) อายุราวสมัยพาเลโอซีน (Paleocence Epoch, ประมาณห้าสิบเจ็ดล้านปีก่อน) พบที่เมืองเฟอร์ (Fur) ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และซากดึกดำบรรพ์ประเภทอำพันแห่งโดมินิกัน (Dominican amber) ของผีเสื้อเมทัลมาร์ก (Metalmark, Voltinia dramba) อายุยี่สิบห้าล้านปี
ปัจจุบันโดยปรกติวิสัยผีเสื้อกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิประเทศหนาวเย็นและแห้งแล้ง มีการประมาณว่าขณะนี้มีผีเสื้อในมหาวงศ์ (Superfamily) พาพิลิโอโนอิเดีย (Papilionoidea) กว่าหนึ่งหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยชนิด (species) และมหาวงศ์เลพิดอปเทรา (Lepidoptera) กว่าหนึ่งแสนแปดหมื่นชนิด
วงชีวิต
การเจริญเติบโตของผีเสื้อแตกต่างจากบรรดาแมลงชนิดอื่นทั้งหลาย โดยปรากฏเป็นจตุวัฏจักร ดังนี้ คือ
  1. ระยะไข่ (Egg Stage)
  2. ระยะหนอนหรือบุ้ง (Caterpillar Stage หรือ Larva Stage)
  3. ระยะดักแด้ (Pupa Stage หรือ Chrysalis Stage)
  4. ระยะเจริญวัย (Adult Butterfly Stage หรือ Imago Stage)
อนึ่ง มีความเชื่ออย่างแพร่หลายว่าผีเสื้อมีวงจรชีวิตสั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผีเสื้อบางพันธุ์อาจมีอายุเพียงหนึ่งสัปดาห์ ในขณะที่บางพันธุ์มีอายุยืนถึงหนึ่งปี โดยส่วนใหญ่จะมีอายุยาวนานในระยะบุ้ง ในขณะที่แมลงชนิดอื่นอาจหยุดการเจริญเติบโตได้ในระยะไข่หรือระยะดักแด้แล้วจึงดำเนินชีวิตต่อไปในฤดูหนาว
ระยะไข่
ไข่ของผีเสื้อมีลักษณะของขนาด รูปร่าง สีสัน และลวดลายแตกต่างกันไป โดยขนาดของไข่นั้นจะเล็กมาก ดังนั้นจำเป็นต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาไข่ของผีเสื้อ เปลือกไข่ประกอบด้วยสารไคติน ที่เป็นสารชนิดเดียวกับเปลือกลำตัวของผีเสื้อและแมลงชนิดอื่นๆ และเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะพบรูเปิดเล็กๆ เรียกว่า ไมโครพายล์ (micropyle) เป็นรูที่ทำให้น้ำเชื้อตัวผู้เข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมียได้
ระยะหนอน
ระยะที่คนเราเรียกว่า หนอน มีหลากหลายสี หลังจากตัวหนอนฟักออกจากไข่แล้ว ตัวหนอนมีลักษณะที่แตกต่างกัน อาหารอย่างแรกที่ตัวหนอนกินคือ เปลือกไข่ของตัวเอง หลังจากนั้นตัวหนอนจึงเริ่มกินใบพืช โดยเริ่มที่ใบอ่อนก่อน ซึ่งลักษณะการกินของตัวหนอนจะเริ่มจากขอบใบเข้าหากลางใบ และจะมีการลอกคราบเพื่อขยายขนาด 4-5 ครั้ง โดยตลอดระยะเวลาที่เป็นตัวหนอนนี้ มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น นอกจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นแล้ว บางชนิดสีสันและรูปร่างก็แตกต่างกันไปด้วย เช่น หนอนผีเสื้อหางติ่ง หนอนมะนาว ในระยะแรกๆ สีสันก็เหมือนมูลนก แต่เมื่อตัวหนอนโตขึ้นสีสันจะเปลี่ยนไป เป็นสีเขียวมีลวดลายคล้ายตาที่ส่วนอกด้วย เป็นต้น แต่ทั้งหมดมีสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สามารถจำแนกว่าเป็นตัวหนอนผีเสื้อได้คือ ตัวหนอนมีขาจริง 3 คู่ที่ส่วนอก และขาเทียม 4-5 คู่ที่ส่วนท้อง ตัวหนอนทั่วไปมักหากินเดี่ยวๆ แต่ก็มีบางชนิดทีระยะแรกๆ หากินกันเป็นกลุ่ม ในระยะนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 15 วัน แมลงที่ลงทำลายพืชผลทางการเกษตรก็จะเป็นวัยนี้เกือบทั้งสิ้น
ระยะดักแด้
เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่จะต้องมองหาสิ่งที่ที่จะลอกคราบเพื่อเข้าดักแด้ ซึ่งจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่ภายในเปลือกดักแด้ การพัฒนาต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นระยะที่มีการสะสมอาหารไว้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นที่ดึงดูดบรรดาตัวเบียนต่างๆ ตัวหนอนของผีเสื้อแต่ละชนิดจะเลือกที่เข้าดักแด้ต่างกันไป ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน
ระยะเจริญวัย
ระยะเจริญวัยคือผีเสื้อที่มีสีสันสวยงาม เริ่มต้นนับตั้งแต่ออกจากดักแด้ โดยผีเสื้อใช่ขาดันเปลือกดักแด้ให้ปริแตกออก และผีเสื้อที่มีปีกยับยู่ยี่จะออกมา ในลักษณะห้อยหัวลงพร้อมถ่ายของเสียที่เป็นสีชมพูออกมา ในระยะแรกปีกของผีเสื้อยังไม่สามารถแผ่ได้ จำเป็นต้องมีการปั้มของเหลวเรียกว่า ฮีโมลิมพ์ เข้าไปในเส้นปีก และต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการทำให้ปีกแข็งพอที่จะใช้ในการบิน ผีเสื้อสามารถอยู่ได้ 2-3 วัน บางชนิดอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับชนิดและแต่ละช่วงอายุขัย